Smart Krabi

CRW_1307 CRW_1324 CRW_1327 CRW_1345 CRW_1599กระบี่จับมือซอฟต์แวร์พาร์คจัดนำร่อง Smart Krabi สร้างทีมพัฒนาเนื้อหาผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย พร้อมจับคู่ธุรกิจซอฟต์แวร์ท่องเที่ยว หวังสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน พร้อมดึงทีมสร้างเนื้อหาทุกระดับปรับเป็นมืออาชีพ

เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.ที่ห้องประชุมไทรเงิน โรงแรมกระบี่รีสอร์ท ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่สำนักงานคณะกรรมนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดบรรยายพิเศษการสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ “SMART KRABI “ตามโครงการ”ยกระดับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี่สารสนเทศ” โดยมีนายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิด และมีนางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวรายงาน

นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ได้ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค จัดทำโครงการ Smart Krabi ขึ้น เพื่อจะสร้างเครือข่าย ดิจิตอลคอนเทนต์ของจังหวัดให้ยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดให้มากกว่านี้ โดยจะเน้นการสร้างคนเพื่อต่อยอด และทำให้เกิดการแบ่งปันหรือแชร์ข้อมูลออกจากแหล่งนักพัฒนาเนื้อหาที่มาจากพื้นที่จริง ๆ

ที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่ถือเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ยอดนักท่องเที่ยวของกระบี่ต่อปีมีไม่น้อยกว่า ๒ ล้านคน และแนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยวนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ไม่ต่ำกว่า ๑๐% ต่อปี สร้างรายได้จากอุตสาหกรรมนี้กว่า ๔ หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันเทคโนโลยียุคใหม่ได้เข้ามามีผลกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมาก ทั้งการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ท่องเที่ยวจำนวนมาก เกิดเว็บแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการเกี่ยวกับการเที่ยวทุกรูปแบบ ทำให้พฤติกรรมท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวประเภทแผนดำเนินการเองเริ่มมีนัยสำคัญมากขึ้น และการสื่อสารเรื่องการท่องเที่ยวผ่าน Social Media มีผลอย่างมากต่อการสร้างความต้องการท่องเที่ยว

ที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้นำระบบไอทีเข้ามาใช้เพื่อสร้างความทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน และการให้บริการกับนักท่องเที่ยวทั้งหลาย ซึ่งเริ่มมีการลงทุนในจำนวนมากขึ้นทุกที ขณะเดียวกันทางผู้ประกอบการก็ได้รับการอบรมให้สร้างเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีข้อตกลงปฏิญญาท่องเที่ยวร่วมกันเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ หรือในปีที่ผ่านมา เพื่อยกระดับให้กระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงคุณภาพระดับนานาชาติ โดยเน้นเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและการนำเทคโนโลยีไปใช้ ดังนั้นการพัฒนาทั้งระบบเช่นนี้จึงต้องมีแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรมในแบบเดียวกันมากขึ้น

การที่สำนักงานคณะกรรมนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จับมือกับจังหวัดกระบี่ โดยตั้งเป้าหมายในการนำไอทีมาใช้ในจังหวัดกระบี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นสร้างคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เข้าใจและสามารถนำมาพัฒนาทางด้านการตลาด และสร้างดิจิตอลคอนเทนต์ เพื่อให้รองรับโลกดิจิตอลที่กำลังมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค นี้คือการวางแผนสร้างแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกระบี่ในแนวทางที่ยั่งยืน

โครงการ Smart Krabi จะเริ่มจากสำรวจความต้องการ และเก็บข้อมูลท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ อย่างเป็นระบบต่อจากนั้นจะนำนักพัฒนาคอนเทนต์ หรือเนื้อหาในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่บทความ ภาพถ่าย และอื่น ๆ ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาออกค่ายร่วมกัน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้สร้าง Social Media ให้เกิดขึ้นภายในจังหวัด ซึ่งจะเป็นทั้งนักพัฒนาคอนเทนต์อิสระและมาจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน จังหวัดเอง

จึงเป็นครั้งแรกของกระบี่ที่จะเน้นการสร้างเนื้อหาของการท่องเที่ยวกระบี่อย่างเป็นระบบ ในทุกรูปแบบ และมีการอบรมและพัฒนาทั้งในส่วนของพื้นฐานการสร้างสื่อ ไปจนถึงการดูแลสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงการมาสนับสนุนให้ทำเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว ดังนั้นไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน แต่หากจังหวัดกระบี่มีกลุ่มคนที่สามารถสร้างเนื้อหารองรับได้ตลอดเวลา ก็จะทำให้สร้างความยั่งยืนได้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวสรุป

นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่า โครงการ Smart Krabi นั้นทางซอฟต์แวร์พาร์คได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดกระบี่ และหน่วยงานที่ผลักด้านการท่องเที่ยวกระบี่ อาทิ สมาคมท่องเที่ยวกระบี่ หอการค้าจังหวัดกระบี่ เป็นต้น เนื่องจากจังหวัดกระบี่มีธุรกิจท่องเที่ยวที่หลากหลาย อาทิ การท่องเที่ยวแบบครอบครัว การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ และท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ การท่องเที่ยวทั้งระยะสั้นและระยะยาว (short stay & long stay) การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกหลั่งไหลมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสายจึงเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้กระทรวงวิทย์ฯ มุ่งที่จะนำ Model หรือการเป็นต้นแบบการนำไอทีมาใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกันจังหวัดกระบี่เป็น Prototype หรือโครงการนำร่องเพื่อศึกษาผลสำเร็จเพื่อพัฒนาต้นแบบในโครงการนี้กับจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป

โครงการนี้ต้องการนำเทคโนโลยีไปสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ทั้งระบบบริหารงานหลังบ้านเพื่อการลดต้นทุน ระบบหน้าบ้านที่อำนวยความสะดวกกับลูกค้า และนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังกระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้าที่มาใช้บริการต่าง ๆ ในธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ รวมถึงด้านการตลาดที่จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ตั้งอยู่ในประเทศและต่างประเทศอย่างไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง การลดข้อจำกัดด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่อยู่ในแผ่นงานของซอฟต์แวร์พาร์คมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมากิจกรรมการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้จัดสร้างให้เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับท่องเที่ยว ตามด้วยการใส่เทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ชในจุดต่าง ๆ และ มีการจับคู่ทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์บ้าง ซึ่งกลุ่มท

่องเที่ยวหลักจำเป็นต้องก้าวข้ามผ่านไปในขั้นตอนที่ก้าวหน้ากว่านี้แล้ว

โครงการนำร่องจึงถือเป็นขั้น Smart Krabi จึงถือเป็นขั้น Advance หรือ ขั้นต่อยอดจากการส่งเสริมด้านไอทีทั่วไปนั่นคือ ซอฟต์แวร์พาร์ค จะเข้ามามุ่งเน้นสร้างนักพัฒนาเนื้อหา หลังจากที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในกระบี่ มีเว็บไซต์หรือเครื่องมือสื่อสารกับลูกค้าแล้ว โดยนักพัฒนาเนื้อหาจะมาจากทั้งกลุ่มโรงแรมที่พักต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงช่างภาพ และนักศึกษาที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพและการเรียนเรื่องราวเนื่องจากซอฟต์แวร์พาร์คพบว่าถ้ามีการสร้างเนื้อหาที่ดีจะมีส่งต่อ และสร้างความจดจำมีพลังในการขายมากกว่าเว็บไซต์ หรือหน้าเพจปกติโดยซอฟต์แวร์พาร์คจะลงรายละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ให้กับนักพัฒนาเนื้อหาในท้องถิ่นอย่างละเอียด

นอกจากนั้นการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านท่องเที่ยวกับเจ้าของกิจการท่องเที่ยวก็มีความสำคัญ กระบี่เป็นจังหวัดนำร่องที่มีศักยภาพอย่างมากผู้ประกอบการเองก็มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อยู่แล้วจำนวนหนึ่ง ดังนั้น สภาพการแข่งขันของแต่ละแห่งจึงมีสูง ขณะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านท่องเที่ยวที่มีความสามารถก็เริ่มมาฝังตัว และพัฒนางานของตัวเองให้ดีขึ้นไปมีจำนวนมาก ดังนั้นในโครงการนี้จึงเป็นเหมือนการมาเติมสิ่งใหม่ ๆ ให้กับเจ้าของกิจการท่องเที่ยวในกระบี่ได้รู้ว่า เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้ผสมผสานกับองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบันมีอะไรบ้าง เพื่อจะได้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะกับธุรกิจที่สุดต่อไป

ในขั้นต้นจะมีผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ถูกฝึกให้เป็นนักพัฒนาเนื้อหาประมาณ ๕๐ คนและจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยวเข้ามาจับคู่ธุรกิจประมาณ ๕๐ คู่ หลังจากนั้นจะมีการติดตามผลและเตรียมที่จะพัฒนาระบบท่องเที่ยวที่กระบี่ด้วยระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโครงการที่จะมีการต่อยอดเพื่อสร้างความสำเร็จให้ครบวงจรให้มากที่สุด

Cr. คุณเอนก จารุเกียรติกุล / Toon Paitoon (Mr.)

2 thoughts on “Smart Krabi

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s